Friday, September 28, 2018

ทีมาbbc

โกงความตายด้วยการ 'อัปโหลดความนึกคิด'


เทคโนโลยีในอนาคตจะทำให้มนุษย์สามารถโกงความตาย ด้วยการเชื่อมต่อสมองของมนุษย์เข้ากับคอมพิวเตอร์ และมีชีวิตดิจิทัลตลอดกาลได้หรือไม่?
คุณอยากจะมีชีวิตอยู่ เป็นนิรันดร์ไหม?
อีลอน มัสก์ นักธุรกิจทุนหนาด้านเทคโนโลยี คิดว่า มนุษย์จะโกงความตายได้ เขากำลังศึกษาเทคโนโลยี ที่จะเชื่อมต่อสมองของมนุษย์ เข้ากับคอมพิวเตอร์ ช่วยให้หลุดพ้นจากร่างกายที่แก่เฒ่า และเปิดประตูสู่ชีวิตดิจิทัลตลอดกาล
เทคโนโลยีนี้และอีกหลายอย่าง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ทรานส์ฮิวแมนนิสซึม (Transhumanism) ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีพัฒนาสภาวะทางจิตใจ, ร่างกาย, และสติปัญญาของเรา ยกตัวอย่างเช่น 'การอัปโหลดความนึกคิด'
ลองจินตนาการถึงการคัดลอกความนึกคิด, ความจำ, และลักษณะนิสัยของคน ลงในคอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ในทางทฤษฎีเป็นไปได้ แต่สมองยังมีความลับอยู่อีกมากมายที่ต้องหาคำตอบ
สมองของเรามีเซลล์ประสาท 8.6 หมื่นล้านเซลล์ ทำให้คนสามารถคิด ผ่านการกระตุ้นสัญญาณไฟฟ้า นักวิทยาศาสตร์ศึกษาหน้าที่ของสมองเหมือนกับคอมพิวเตอร์ยกตัวอย่าง สมองเปลี่ยนข้อมูลที่รับเข้าไป อย่างข้อมูลด้านประสาทสัมผัสให้เป็นข้อมูลที่ส่งออกมา อย่างพฤติกรรมของเรา ผ่านการคิดคำนวณ
นักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เราอาจลอกจิตใจลงคอมพิวเตอร์ได้
แน่นอนว่า มีคนไม่เห็นด้วย ที่แย้งว่าความซับซ้อนของสมอง ไม่สามารถทำซ้ำได้ ตอนนี้ นักวิจัย หวังว่า จะทำแผนที่การทำงานของเซลล์ประสาทของสมองหนูในเวลา 15 ปี
มันใช้เวลา แต่ผู้ที่เชื่อเรื่อง ทรานส์ฮิวแมนนิสซึม เชื่อว่า อนาคต คนจะผสานเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้
ที่มาsanook

เตือนภัย! หุ่นยนต์เอไออาจกลายเป็นเครื่องจักรสังหารได้


ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเอไอออกเตือนประชาชนทั้งหลายระมัดระวังชีวิตของตัวเองเอาไว้ให้ดี เพราะหุ่นยนต์บำบัดความใคร่ อาจกลายเป็นเครื่องจักรสังหารถ้าถูกผู้ไม่หวังดีแฮกเข้าระบบได้
เว็บไซต์ต่างประเทศรายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยระบบอินเทอร์เน็ต กล่าวเตือนว่า หุ่นยนต์สนองความต้องการทางเพศอาจถูกแฮกโดยแฮกเกอร์มือดี ทำให้หุ่นดังกล่าวกลายเป็นเครื่องจักรสังหารได้ โดยข้อนี้นักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์เคยออกมาเตือนอยู่เสมอถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกิดจากหุ่นยนต์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และมีหลายร้อยคนเรียกร้องให้รัฐบาลห้ามนำหุ่นยนต์มาเป็นอาวุธ
โดยนิโคลัส แพตเทอร์สัน นักวิทยาการด้านความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยดีกิน ในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย กล่าวกับ Star ว่า "แฮกเกอร์สามารถเจาะเข้าไปในหุ่นยนต์หรืออุปกรณ์หุ่นยนต์จนสามารถควบคุมการเชื่อมต่อแขนขาและเครื่องมืออื่นๆ ที่สามารเชื่อมต่อไปยังอาวุธ เช่น มีด ได้ บ่อยครั้งที่หุ่นยนต์เหล่านี้มีน้ำหนักถึง 90 กก. และแข็งแรงมาก เมื่อหุ่นยนต์ถูกแฮกเกอร์เข้าควบคุม จนสามารถออกคำสั่งให้หุ่นทำอะไรก็ได้ แฮกเกอร์สามารถหาประโยชน์จากการกระทำเหล่านี้ได้ทั้งในทางดีและทางร้าย"  โดยเมื่อปีที่แล้ว (60) นักวิจัยได้ค้นพบข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยโดยใช้เซ็กส์ทอย ที่ใช้งานผ่านเทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth) ซึ่งแฮกเกอร์สามารถควบคุมได้จากระยะไกลจากสถานที่ใดที่หนึ่ง และในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญเขียนคำอธิบายไว้ในวารสาร Nature ทางวิทยศาสตร์ ระบุขณะนี้เหล่าปัญญาประดิษฐ์สามารถหลอกลวงและเข้าชิงในส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ได้ ทำให้ในสถานการณ์เช่นนี้ความคิดการตัดสินใจและอารมณ์ของแต่ละบุคคลอาจถูกยึดโดยเหล่าเอไอก็เป็นได้
ที่มาsanook

นักวิทยาศาสตร์ห่วง! ปัญญาประดิษฐ์อาจก่อภัยคุกคามมวลมนุษยชาติ


การคืบคลานเข้ามาของระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของวิทยาการทั่วโลกไปอย่างก้าวกระโดด ทว่ารายงานชิ้นล่าสุดที่รวบรวมข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ในประเทศที่พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ทั่วโลก แสดงความกังวลว่า ความก้าวหน้าของ AI ได้มาพร้อมภัยคุกคามที่คาดไม่ถึง
ไม่นานมานี้ เราได้เห็นศักยภาพของระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการตรวจจับข่าวโคมลอยที่กลุ่มก่อการร้ายได้สร้างขึ้นมาบนโลกออนไลน์ ที่มีความแม่นยำสูงถึงร้อยละ 94 ซึ่งถือเป็นการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อช่วยให้สังคมปลอดภัยขึ้นได้
ในอนาคตอันใกล้ ระบบ AI จะมีส่วนสำคัญในการทหารมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ โดรน และ หุ่นยนต์สังหาร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ท่านนี้ กังวลว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราใช้หุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์ในการสงครามแทนการใช้มนุษย์อย่างเต็มตัว การส่งผ่านข้อมูลมหาศาลจะเกิดขึ้น ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถวิเคราะห์หรือประมวลข้อมูลมากมายเช่นนั้นได้ และต้องพึ่งพาการตัดสินใจที่ประมวลด้วย AI วันนั้นมนุษย์อาจไม่มีความหมายในการตัดสินใจอีกต่อไป
ที่มาsanook

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยีสร้างแผนที่พื้นผิวมหาสมุทร


คณะผู้แข่งขัน 9 ทีมจาก 25 ประเทศ ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ในการชิงเงินรางวัล 7 ล้านดอลลาร์ ในการประชันความสามารถในงาน Ocean XPrize ที่พวกเข้าพัฒนาเทคโนโลยีสร้างแผนที่พื้นผิวมหาสมุทร

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าหากใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในยุคปัจจุบัน ภารกิจนี้น่าจะใช้เวลานานถึง 600 ปี
เมื่อวานนี้ มีการคัดเลือกทีมเข้ารอบสุดท้าย ซึ่งรับเงินรางวัลขั้นต้น 1 ล้านดอลลาร์ หลังจากผู้ตัดสินเห็นว่าเทคโนโลยีต้นแบบของพวกเขา ดีพอที่จะใช้ในระดับทดลองจริงได้
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้สร้างแผนที่พื้นผิวมหาสมุทร มาตั้งแต่ ปัญญาประดิษฐ์ เครื่องบินโดรน และพาหนะใต้ทะเล ทั้งหมดนี้ถือเป็นทางเลือกที่นำมาใช้แทนการใช้เรือซึ่งใช้งบประมาณมาก
ที่มาsanook

อดีต จนท.เพนตากอน เตือน "กูเกิ้ล" กำลังก้าวเข้าสู่ "ภาวะอันตรายด้านศีลธรรม"


อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหม หรือ เพนตากอน ตั้งคำถามด้านศีลธรรมกับบริษัทกูเกิ้ล (Google) ในการไม่ต่อสัญญากับโครงการพัฒนาโดรนตรวจจับกับเพนตากอน
นายบ็อบ เวิร์ค อดีตรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม บอกว่า พนักงานกูเกิลกำลังเดินหน้าเข้าสู่ภาวะอันตรายด้านศีลธรรมเสียเอง หลังจากกูเกิลประกาศเมื่อต้นเดือนมิถุนายนว่า จะไม่ต่อสัญญากับเพนตากอน ในโครงการ Project Maven ที่ใช้ศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการตรวจจับและระบุเอกลักษณ์จากภาพที่บันทึกได้จากโดรน
พร้อมกันนี้ นายเวิร์ค มองว่า ท่าทีของกูเกิ้ลแฝงเจตนาอื่น เนื่องจากตอนนี้กูเกิ้ลมีโครงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในประเทศอื่น รวมทั้งจีน
ทั้งนี้ การถอนตัวจากโครงการ Project Maven ที่กูเกิ้ลทำสัญญาพัฒนาโครงการกับเพนากอนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014-2017 เกิดขึ้นหลังจากพนักงาน 13 คนลาออกจากโครงการดังกล่าว และมีพนักงานมากกว่า 4,600 ตำแหน่งลงนามคัดค้านการใช้เทคโนโลยีของกูเกิ้ลเพื่อการทหาร เพราะมองว่าขัดแย้งกับหลักการขององค์กร
ที่มาsanook

นักวิจัยพยายามพัฒนาหุ่นยนต์ให้แก้ไขความผิดพลาดในการทำงานด้วยตัวเอง


หุ่นยนต์หลายตัวในโรงงานประกอบรถยนต์ทำงานได้อย่างรวดเร็วกว่าเเละถูกต้องแม่นยำกว่ามนุษย์ เเละไม่เคยต้องหยุดพักอีกด้วย แต่หากทำงานผิดพลาด หุ่นยนต์เหล่านี้จะไม่เข้าใจถึงความผิดพลาด เเละไม่สามารถกลับไปแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้
เฺฮนนี่ แอดโมนี่ รองศาสตราจารย์ด้านหุ่นยนต์ ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน กล่าวว่า การเข้าใจความผิดพลาดและการแก้ไขเป็นงานที่ยากสำหรับหุ่นยนต์ เพราะต้องใช้ข้อมูลบริบทในระดับที่ยังไม่สามารถพัฒนาได้ในหุ่นยนต์
รองศาสตราจารย์แอดโมนี่และทีมงานวิจัยซึ่งเป็นนักศึกษาของเธอ กำลังพยายามโปรแกรมให้หุ่นยนต์ชื่อ Baxter ทดลองทำงานเป็นพนักงานร้านของชำ ทำหน้าที่ช่วยหยิบสินค้าใส่ถุง และทีมงานใช้กล้องถ่ายภาพมาตรฐานร่วมกับกล้องถ่ายภาพเเสงอินฟราเรด เพื่อช่วยให้หุ่นยนต์ Baxter จดจำสิ่งของต่างๆ ได้
รองศาสตราจารย์แอดโมนี่ กล่าวว่า ส่วนที่น่าสนใจมากที่สุดไม่ได้อยู่ที่ความสามารถในการรับรู้เเละเข้าใจในงานที่ทำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หุ่นยนต์สามารถนำข้อมูลที่เข้าใจไปใช้งานด้านเหตุผลอย่างไร
แต่ก็เกิดคำถามว่า ถ้าเช่นนั้นทำไมทีมนักวิจัยจึงไม่รวมเอาความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด เเละวิธีการแก้ไข เข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมหุ่นยนต์เสียตั้งเเต่ต้น
ต่อเรื่องนี้ รองศาสตราจารย์แอดโมนี่กล่าวว่า การรวมเอาข้อผิดพลาดเเละทางแก้เข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ของหุ่นยนต์ไม่มีประสิทธิผลเสมอไปเพราะความผิดพลาดยังมีโอกาสอาจหลุดรอดการทำงานของหุ่นยนต์ไปได้เเละเมื่อเจอกับสถานการณ์ใหม่ หุ่นยนต์ต้องพยายามเข้าใจงานใหม่ตรงหน้า เเละจะต้องตั้งข้อจำกัดใหม่เกี่ยวกับข้อผิดพลาดทั้งหมดอีกครั้ง 
ที่มาsanook

10 เทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้น และน่าสนใจในปี 2018


ระบบสแกนลายนิ้วมือในหน้าจอ

หลังจากที่มีเรื่องราวของการนำระบบสแกนลายนิ้วมือไปใส่ในหน้าจอต้อนรับกระแสมือถือจอไร้กรอบ คาดว่าในไตรมาสแรกคงได้เห็นเทคโนโลยีนี้ออกมา
ซึ่งผู้ที่ใช้เทคโนโลยีนี้รายแรกคือ Vivo นั่นเอง โดยใช้เทคโนโลยี Clear ID FS9500 chip ฝั่งเข้าไปในหน้าจอ AMOLED ช่วยให้อ่านลายนิ้วมือได้อย่างแม่นยำ
แต่ใครจะเป็นรายที่ 2 ที่ใส่เทคโนโลยีนี้คงต้องจับตาดูกันต่อไป

มือถือที่สามารถพับหน้าจอได้ (Foldable Phone)

หลังจากมือถือรุ่นแรกที่พับหน้าจอและขายจริงออกมาอย่าง ZTE AXON M ซึ่งทำให้คนชอบเทคโนโลยีหน้าจอใหญ่ตื่นตัวกับมือถือแบบนี้
แต่ข่าวหลุดภายในบอกว่า Samsung อาจจะพัฒนามือถือจอพับได้ออกมาช่วงปลายปี 2018 มีชื่อว่า Galaxy W เพราะคงรอเทคโนโลยีจอ Super AMOLED แบบพับได้อย่างสมบูรณ์ก่อน
แต่หน้าตาออกมาจะเป็นอย่างไรคงต้อรอดูในช่วงปลายเดือนนี้

Apple กับการพัฒนาอุปกรณ์ AR ครั้งแรก

ที่ผ่านมา Apple เริ่มให้ความสนใจเทคโนโลยี AR หรือ augmented reality โดยเน้นการแสดงผลภาพร่วมกับโลกข้อความเป็นจริง ที่แตกต่างจากเทคโนโลยร VR (Vistual Reality) พอสมควร
แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่แน่ชัด แต่ก็มีกระแสข่าวออกมาว่า Apple กำลังพัฒนาและคาดว่าจะมีอุปกรณ์ออกมาในช่วงปี 2019 แต่ทั้งหมดคงต้องจับตาดูกันต่อไป

ระบบสั่งงานด้วยเสียงที่แนบเนียนกับคน จนแยกไม่ออก

ความน่าตื่นเต้นในปีก่อนคือ ระบบคำสั่งงานด้วยเสียงเริ่มรับคำสั่งคนได้หลากหลายและทำให้ชีวิตหลายคนสะดวกขึ้น
แต่ถ้าในปีนี้ระบบคำสั่งเหล่านี้เริ่มมีเสียงคล้ายกับคนมากขึ้นโดยเฉพาะ สำเนียง และการอ่านข้อความผ่านกระดาษได้ จะเป็นอย่างไร คงต้องรอดูและจับตาดูกันต่อไป

ลำโพงฉลาดที่เน้นคุณภาพเสียง

Amazon ถือว่าเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนา Smart Speaker หรือ ลำโพงอัจฉริยะที่สามารถสั่งงานด้วยเสียงผ่านระบบรับคำสั่งอย่าง Amazon Alexa แต่ดูเหมือนกับลำโพงเหล่านี้จะไม่เข้าตานักฟังเพลงเพราะคุณภาพนั้นยังไม่เข้าขั้น
แต่ปีนี้น่าจับตาดูลำโพง Home Pods ของ Apple ที่คาดว่าจะทำคุณภาพออกมาได้โดดเด่นและน่าฟังไม่น้อยแต่ราคาอาจจะต้องคิดหนักกันนิดหน่อย

Project Treble ออกมาเพื่อแก้ปัญหา Software ของ Android

หากคุณใช้มือถือระบบปฏิบัติการ Android และพบปัญหาว่าเมื่ออัปเดทเครื่องแล้วมีปัญหาเกี่ยวกับ Software อย่างมาก ยกเว้น Pixel หรือ Nexus ที่ไม่ค่อยมีปัญหา
Google กำลังทำอีก Project หนึ่งกับระบบปฏิบัติการ Android โดยมีชื่อว่า Project Treble โดยเป็นโปรเจ็คที่จะทำให้เครื่องสามารถอัปเกรดได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งระบบนี้ถูกติดตั้งใน Android 8.0 Oreoใหม่ แต่อาจจะไม่ครบทุกเครื่อง
แค่ว่าตอนนี้กำลังรอถึงเวลาเท่านั้น เพราะมือถือที่จะรองรับโปรเจคนี้ จะออกมาในปี 2018 นี้แล้วล่ะ

การกลับมาของมือถือจีน ที่ราคาไม่แพง

อีกไม่นานคาดว่ามือถือที่มีชื่อเสียงในจีนอย่าง OPPO, Huawei, Xiaomi, และ Brand อื่นๆ จะบุกเข้าตลาดทั่วโลก รวมถึงสหรัฐอเมริกา
ซึ่งความตื่นเต้นแรกคือ Huawei Mate 10 Pro ที่กำลังจะวางขายกับเครือข่ายมือถือ AT&T ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้
เช่นเดียวกับ Xiaomi ที่กำลังจะรุกตลาดยุโรป ที่คนส่วนมากซื้อมือถือแบบเท่าที่มีและไม่ได้เน้นแพงมาก และคาดว่าจะบุกในสหรัฐฯ อีกไม่นาน แต่ต้องวางแผนให้รัดกุมทั้งราคา, กลุ่มเป้าหมาย และ คุณภาพของเครื่อง

Google กับการทำมือถือ AI ครั้งแรก

ปืที่ผ่านมา Google ได้ส่ง Pixel 2 เข้าตลาดและได้รับความนิยมสูงเพราะคะแนนกล้องของรุ่นนี้ทำได้ดีจนมือถือกล้องมากกว่า 1 ตัวต้องหันมองกันเลยทีเดียว
แต่เบื้องหลังของ Google Pixel 2 นั้นมีการติดตั้ง AI ในเรื่องของการถ่ายภาพเข้าไปจึงทำให้ความสามารถของเครื่องนั้นเก่งมากขึ้น และจัดสีและแสงได้กำลังดี และคาดว่าในปีนี้จะมี AI เกี่ยวกับเรื่องอื่นเช่นการค้นหา เข้าใส่ในมือถืออาจจะใช้ชื่อว่า Pixel 3 และ Pixel 3 XL

iPad Pro ที่ไร้กรอบและใช้ Face ID

ย้อนกลับไปในปี 2017 iPad Pro ถือว่าเป็นสินค้า Apple ที่มีการปรับปรุงรายละเอียดมากที่สุดอีกชิ้นหนึ่ง แม้ว่าจะมีบางสิ่งเช่น  Touch ID ที่ยังคงเป็นเอกลักษณ์อยู่ก็ตาม
แต่สำหรับปีนี้ก็อาจจะเป็นปีที่ iPad จะได้หน้าจอใหญ่อลังการไร้กรอบเหมือนกับ iPhone X และคาดว่าจะใช้ระบบสแกนใบหน้าเพื่อปลดล็อคหรือ Face ID เช่นเดียวกัน และคาดว่าจะทำอะไรได้มากขึ้น แต่จะใกล้กับคอมพิวเตอร์แค่ไหน คงต้องจับตาดูกันต่อไป

เทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่จะยืนยาวมากขึ้น

ย้อนกลับไปในปี 2017 พบว่าเทคโนโลยีของแบตเตอรี่มือถือนั้นดีขึ้นทำให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้นถึง 25% ผลลัพธ์ที่ได้นั้นเกิดจากการที่ CPU อย่าง Qualcomm Snapdragon 835 ที่มีขนาดเล็กลง และรุ่นใหม่อย่าง Qualcomm Snapdragon 845 ก็จะมีประสิทธิภาพดีขึ้น
ที่มาsanook


แนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ ชี้นำอนาคต


ก้าวเข้าสู่เดือนมกราคม ปี 2018 ประเดิมศักราชใหม่ด้วยงาน CES 2018 (Consumer Electronics Show) ที่จัดขึ้น ณ ลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 9 – 12 มกราคม 2018 งานใหญ่ที่รวบรวมเทคโนโลยีอันทันสมัย พร้อมเป็นตัวชี้นำให้เห็นถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีที่คาดว่าจะขึ้นตลอดทั้งปีนี้
ก่อนที่งาน CES 2018 จะเริ่มขึ้น เรามีวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ทั้ง 8 อย่างที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ไปชมกันครับ
1.ชาร์จไร้สายแบบ Over-the-air
wattup-1024x684
สมาร์ทโฟนในปัจจุบันหลายรุ่นรองรับการชาร์จแบตเตอรี่แบบไร้สาย (Wireless Charging) บ้างแล้ว แต่ข้อจำกัดของเทคโนโลยีในลักษณะนี้ยังต้องพึ่งพาแท่นชาร์จ แต่ความฝันของเทคโนโลยีนี้ต้องสามารถชาร์จแบบไร้สายได้อย่างแท้จริง หรืออีกนัยหนึ่งคือ “การส่งพลังงานเพื่อชาร์จผ่านทางอากาศ” (Over-the-air)
ซึ่งบริษัทแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า Energous ได้รับการอนุมัติจาก Federal Communications Commission คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐฯ หรือ FCC สำหรับเครื่องส่งพลังงานไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะ 3 ฟุต ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, นาฬิกาอัจฉริยะ, คีย์บอร์ดไร้สาย เป็นต้น เป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีส่งพลังงานแบบไร้สายผ่านทางอากาศ นอกจากนี้ยังมีบริษัท Powercast ที่นำเสนอเครื่องส่งพลังงานสำหรับการชาร์จแบบไร้สายได้ไกลถึง 80 ฟุต
ซึ่งคาดว่าต้นแบบและการสาธิตเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้จะมีปรากฏให้เห็นในงาน CES 2018 นี้
2.ทีวีแบบ Micro-LED
ces-2018-tc
ปกติเรามักได้ยินแต่ทีวีแบบ LED แต่สำหรับงาน CES 2018 มีการคาดการณ์ว่า Samsung เตรียมเปิดตัวทีวีแบบใหม่ที่เรียกว่า Micro-LED ที่ใช้หลอดไฟ LED ขนาดเล็กกว่า 100 micrometers ให้ประโยชน์ต่อการผลิตแสงในตัวเอง พร้อมอัตราความคมชัดสูงและให้สีดำที่ดำสนิท นอกจากนี้ยังเป็นทีวีที่มีอัตราการใช้พลังงานต่ำอีกด้วย
3.Smart home
ces-2018-smarthone
เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา อุปกรณ์ประเภทลำโพงอัจฉริยะสั่งงานด้วยเสียงได้ กลายเป็นเทรนด์ที่บริษัทด้านเทคโนโลยีให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดย Alexa จาก Amazon ถือเป็นอุปกรณ์ภายในบ้านที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ ซึ่งหลังจากนั้นก็มีอีกหลายบริษัทก็ได้คิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์ในลักษณะดังกล่าวออกมาชิงชัยกันอย่างคึกคัก
สำหรับในงาน CES 2018 อุปกรณ์อัจฉริยะประเภท Smart Home ที่สามารถรับคำสั่งเสียงและเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในบ้านได้ จะมีความฉลาดและทันสมัยมากขึ้น และคาดว่าจะได้อุปกรณ์ใหม่ ๆ ในลักษณะเดียวกันนี้เปิดตัวเพิ่มมากขึ้น
4.อีกก้าวของ Augmented reality
ces-2018-ar
จากปรากฏการณ์ของเกม Pokemon GO ที่นำเสนอรูปแบบการเล่นเกมในลักษณะ Augmented reality หรือ AR จนกลายกระแสความนิยมไปทั่วโลก สร้างความคึกคักให้กับวงการ AR เป็นอย่างมาก และนั่นนำไปสู่การต่อยอดของการพัฒนา AR ร่วมกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้คนที่สามารถเข้าถึงโลกเสมือนจริงภายใต้โลกแห่งความเป็นจริงได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่หลายบริษัทจะนำเสนอเทคโนโลยี AR ใหม่ๆ ภายในงาน CES 2018 ได้แก่ Carl Zeiss, Occipital, Kinmo, Kodak, Royole และ Sony
5.สงครามในตลาด “โน้ตบุ๊ค” จะดุเดือดอีกครั้ง
ces-2018-laptop
ตลาดโน้ตบุ๊คที่ซบเซาไปหลายปี แต่คาดการณ์ว่าในงาน CES 2018 เราจะได้เห็นการแข่งขันของผู้ผลิตโน้ตบุ๊คกันอย่างดุเดือด ซึ่งโน้ตบุ๊คประเภทที่มีน้ำหนักเบา ประสิทธิภาพสูง ตอบโจทย์การพกพา ดีไซน์สวยงาม สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนาน มีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
ขณะเดียวในฝั่งผู้ผลิตซีพียูสองค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง Intel และ AMD จะยังขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด และที่น่าจับตามอง คือ Qualcomm ที่เริ่มหันมาพัฒนาซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊คที่ใช้ Windows 10 S โดยมี ASUS กับ HP ได้สองพาร์ทเนอร์แรก
6.หุ่นยนต์
ces-2018-robot
อย่าหวาดวิตกครับว่าปีนี้เราจะมีหุ่นยนต์ประเภทเดียวกับในหนังอย่าง iRobot หรือ Terminator แต่หุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่คาดว่าจะถูกนำมาโชว์ในงาน CES 2018 จะเน้นไปในเชิงการเป็นผู้ช่วยให้กับผู้คน หรือเป็นผู้ช่วยในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่จะพัฒนามากขึ้น คือ Artificial Intelligence หรือ A.I. เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนหุ่นยนต์ให้มีความสามารถในการโต้ตอบกับผู้คนได้มากขึ้น เข้าใจในภาษาพูด สามารถวิเคราะห์และให้คำแนะนำ หรือช่วยตัดสินใจให้กับผู้คนได้มากขึ้น
7.สมาร์ทโฟน
ces-2018-smarthone-01
แม้ตัวเลขการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนจะไม่พุ่งสูงมาก แต่การแข่งขันของผู้ผลิตจำนวนมากยังเป็นไปอย่างเข้มข้น งานออกแบบค่อนข้างเป็นไปในทิศทางที่ใกล้เคียงกัน รวมไปถึงสเปคและประสิทธิภาพที่ให้ความคุ้มค่าเกินราคา ซึ่งในงาน CES 2018 คาดว่าจะมีผู้ผลิตบางรายใช้โอกาสนี้เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ซึ่งงานออกแบบอย่างตัวเครื่องที่ทำขึ้นจากกระจก, สัดส่วนหน้าจอ 18:9, กล้องคู่, ตัด headphone jack ทิ้ง และกันน้ำได้ จะมีมากับสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ตั้งแต่ต้นปี ส่วนจะมีค่ายไหนบ้างต้องรอติดตามครับ
8.Smart Car
ces-2018-smart-car
ตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา ทิศทางของตลาดรถยนต์เริ่มพุ่งเป้าไปที่การพัฒนารถยนต์ส่วนบุคคลที่สามารถขับเคลื่อนเองได้อัตโนมัติ พร้อมระบบอัจฉริยะที่สามารถควบคุมและให้ความปลอดภัยกับคนนั่งได้ แถมช่วงปลายปีก็เริ่มมีค่ายรถยนต์บางรายเริ่มพัฒนารถโดยสารขนส่งสาธารณะแบบขับเคลื่อนเองอัตโนมัติบ้างแล้วเช่นกัน รวมไปถึงการพัฒนารถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า, ไนโตรเจน หรือพลังงานอื่นๆ ทดแทนการใช้น้ำมัน ซึ่งใน CES 2018 รถยนต์จะยังเป็นไฮไลท์สำคัญภายในงาน ส่วนจะมีการพัฒนาไปทิศทางไหน และจะเปลี่ยนมุมมองของรถยนต์แบบเดิม ๆ
ที่มาsanook

นักอนาคตศาสตร์เชื่อ ใน 30 ปี เทคโนโลยีจะช่วยให้คนมีชีวิต “อมตะ”


เชื่อกันว่าภายใน ทศวรรษ เทคโนโลยีล้ำสมัยจะช่วยให้คนที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2513 มีชีวิต อมตะ
ความคิดนี้มาจากการคาดคะเนของดร. Ian Pearson นักอนาคตศาสตร์ (futurologist) ระดับแนวหน้า “ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีเชื่อได้ว่าคนที่มีชีวิตอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2593 อาจมีชีวิตที่เป็นอมตะ”
ดร. Pearson อ้างถึงเทคโนโลยีหลายอย่างที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ ซึ่งรวมถึงพันธุวิศวกรรมที่จะช่วยคืนความเป็นหนุ่มสาวให้กับเซลล์ในร่างกายและไบโอเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างอวัยวะใหม่ขึ้นมาทดแทนอวัยวะที่เสื่อมสภาพไป “ไม่มีใครอยากเป็นอมตะในสภาพของคนอายุ 80-90 หรอก ถ้าทำได้ใคร ๆ ก็อยากให้ตัวเองเหมือนเมื่อตอนอายุ 20-30 ด้วยกันทั้งนั้น”
ดร. Pearson ยังมองว่าชีวิตที่ไม่มีวันตายอาจไม่ได้หมายถึงการยึดติดกับร่างกายเดิม “ถ้าอุปสรรคของชีวิตอมตะคือร่างกายที่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ต่อไปอาจมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถอัปโหลดจิตสำนึกไปเก็บไว้ใน “clound” จากนั้นก็ดาวน์โหลดใส่แอนดรอยด์หรือหุ่นยนต์เหมือนคนแบบไหนที่ไหนก็ได้ทั่วโลก หมายความว่าแม้สังขารจะร่วงโรยไปแต่จิตสำนึกของเราจะยังคงอยู่ตลอดไป “ถึงตอนนั้นคุณอาจเลือกหุ่นยนต์ที่ดูอายุเท่าไหร่ก็ได้ เป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้”
ดร. Pearson เชื่อว่าเทคโนโลยีทั้งหลายทั้งปวงเพื่อชีวิตที่เป็นอมตะนี้เกิดได้ภายในปี 2593 หรืออีกประมาณ 30 ปี “ถ้าคุณเกิดหลังปี 2513 ปีนี้คุณอายุ 48 คนที่อายุไม่ถึง 50 ถือว่ายังมีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีนี้ หรือก็คือมีโอกาสจะมีชีวิตที่เป็นอมตะ ส่วนคนที่ตอนนี้ยังอายุไม่ถึง 40 คุณได้รับโอกาสนั้นแน่นอน” ในช่วงแรกค่าใช้จ่ายจะต้องสูงมากแน่ ๆ ซึ่งจะมีเพียงมหาเศรษฐีเท่านั้นที่เอื้อมถึง แต่ให้หลังประมาณ 10 ปี ชนชั้นกลางทั่วไปก็น่าจะเข้าถึงได้


ที่่มาvoathai


รัฐบาลญี่ปุ่นเร่งพัฒนา “รถยนต์บินได้''

นายฟูมิอากิ เอบิฮารา หัวหน้าโครงการรถยนต์บินได้ บอกว่า นี่เป็นการเปิดโครงการใหม่ที่ทำให้ญี่ปุ่นไม่ล้าหลังจากประเทศอื่นในการพัฒนาครั้งสำคัญนี้ โดยได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำอย่างน้อย 20 แห่ง อาทิ สายการบิน All Nippon Airways บริษัทด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ NEC Corp. บริษัทสตาร์ทอัพ Cartivator ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ และผู้ให้บริการรถโดยสารผ่านแอพพลิเคชั่น Uber       
แนวคิดรถยนต์บินได้ที่จะเกิดขึ้นนั้น คือ อากาศยานที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือใช้พลังงานไฮบริด เป็นอากาศยานไร้คนขับ และสามารถขึ้นบินและลงจอดในแนวดิ่งได้ หรือที่เรียกว่า EVtol ซึ่งมีจุดเด่นที่การขึ้นลงของอากาศยาน แต่ดีกว่าเฮลิคอปเตอร์ ที่ต้นทุนการบำรุงรักษาสูง เสียงดังในการบิน และต้องใช้นักบินอาชีพในการควบคุม
อย่างไรก็ตาม หลายคนเชื่อว่ารถยนต์บินได้คงยังไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ จากข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น กฏหมายควบคุมรถยนต์บินได้ ปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ รวมทั้งการควบคุมความปลอดภัยในการจราจรทางอากาศรูปแบบใหม่

ทีมา bbc โกงความตายด้วยการ 'อัปโหลดความนึกคิด' เทคโนโลยีในอนาคตจะทำให้มนุษย์สามารถโกงความตาย ด้วยการเชื่อมต่อสมองของมนุษย์...